.

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ถํ้าติ่ง

ถ้ำติ่ง (ถ้ำปากอู) แห่งนี้ มีความสำคัญมายาวนานกับชาวลาว โดยเฉพาะชาวลาวหลวงพระบาง ถือได้ว่าเป็นเทวสถานของเจ้าที่แม่น้ำ   โดยชาวบ้านท้องถิ่นเล่ากันว่า  ถ้ำติ่ง ในสมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณ  ผีฟ้า  ผีแถน เทวดาผาติ่ง ซึ่งหินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายภายในถ้ำนั้นเป็นที่สิงสถิตของผี ทั้งวิญญาณในน้ำ
และในถ้ำ  ต่อมา ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาแพร่หลายผ่านมาทางชาวมอญ ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 13  และได้รับการนับถือกันแพร่หลาย คู่ขนานไปกับความเชื่อดั่งเดิมในเรื่องของการนับถือบูชาผีฟ้า เทวดา จนในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เข้าสู่ยุคเฟื่องฟูแห่งศาสนาพุทธ  ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090)  พระโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินให้เกิดความเป็นปึกแผ่น พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้เลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก  พระองค์ทรงสร้างวัดวาอารามต่างๆ มากมาย  และประกาศยกเลิกไม่ให้ประชาชนนับถือผีสางให้มายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ความเชื่อในเรื่องการบูชาภูติผีจึงลดบทบาทไป ประกอบกับสภาวะบ้านเมืองในขณะนั้น ถ้ำติ่งจึงถูกทิ้งร้าง จนมาในปี 2091 คนท้องถิ่นที่นั่นเล่ากันว่า ถ้ำติ่ง จึงได้ทรงค้นพบอีกครั้งโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ซึ่งพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา   ในขณะทำการก่อสร้างวัดปากอู ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้าม ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มายังถ้ำปากอูก็คือฟรานซิส การ์นิเย่ร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส จากนั้นมาถ้ำติ่ง แห่งนี้ ก็กลายเป็นพุทธสถาน ที่นักแสวงบุญในพุทธศาสนาได้เดินทางมาสักการะถ้ำแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และตามธรรมเนียมความเชื่อ นักแสวงบุญก็จะทิ้งพระพุทธรูปไว้ในถ้ำ และทุกวันนี้มีพระพุทธรูปกว่า 4,000 องค์แล้ว มีพระพุทธรูปจำนวนมากที่มีฝุ่นเกาะอยู่เต็มไปหมดและไม่ได้รับการเหลียวแล ส่วนใหญ่แล้วมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24-25  กว่า 2,500 องค์   องค์ที่เก่าที่สุดสร้างจากไม้ และมีอีกหลายองค์ที่หล่อจากสำริดลงรักปิดทอง โดยเราจะเห็นว่ามีพระพุทธรูปวางอยู่แทบทุกซอกทุกมุมภายในถ้ำเลยทีเดียว
ถ้ำติ่ง ประกอบไปด้วย ถ้ำ แยกขวาไปถ้ำลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำเทิง (บน) ถ้ำลุ่มหรือ ถ้ำติ่ง ล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นๆ มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากหลายขนาด ส่วนใหญ่จะเป็นพระยืน มีทั้งปางประทานพร และปางห้ามญาติ ความสำคัญของถ้ำติ่งในสมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณ ผีฟ้า ผีแถนเทวดาผาติ่ง


การเดินทาง
การเดินทางไปเที่ยวชม ถํ้าติ่ง นั้นทำได้ 2 ทาง คือทางเรือ และทางรถยนต์  ทางเรือนั้นต้องขึ้นเรือที่ท่าวัดเชียงทอง และมีอีกหลายท่าเรือจากหลวงพะบาง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเช่าเหมาลำ ไปเป็นคณะ เมื่อพร้อมก็ออกเดินทางทวนลำน้าโขงขึ้นไป สองฝั่งลำน้าโขงนั้นอุดมไปด้วยธรรมชาติที่สวยงามตื่นตา ตื่นใจบอกไม่ถูก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ๆ ก็จะถึง ถํ้าติ่ง
อีกเส้นทางหนึ่งคือ ขึ้นรถจากหลวงพะบาง ไปยังบ้านซ่างไห่ หรือบ้านต้มเหล้า ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แล้วเหมาเรือจากจุดนี้ไปยัง ถํ้าติ่ง หรือจะนั่งรถเลยไปยังบ้านปากอู ห่างจากหลวงพะบางประมาณ 45 กิโลเมตร แล้วไปขึ้นเรือที่ท่าเรือบ้านปากอู ค่าเหมาเรือจะถูกกว่า จากบ้านซ่างไห่



เห็นเป็นเสาปูนอยู่กลางนํ้า คนขับเรือบอกว่ามันเป็นเสาวัดระดับนํ้าขึ้นลง ช่วงที่เราไปนํ้าลงมาก


ระหว่างเดินทางไปถํ้าติ่ง พบเรือสำราญ แล่นสวนอยู สองสามลำ






ภายในถํ้าติ่ง เต็มไปด้วยพระพุทธรูปมากมาย


 




Share:

Blogger templates

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Advertisement

ads

Random Posts

Recent in Sports

Featured

.