.

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บ้านซ่างไห่

บ้านซ่างไห่ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่พลาดไม่ได้สำหรับทริปเที่ยวเมืองหลวงพะบาง หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมนํ้าโขง เป็นหมู่บ้านต้มเหล้าที่มีชื่อเสียงของหลวงพะบาง นักท่องเที่ยวทุกคนที่ไปมาต่างบอกว่าต้องกลับไปเยี่ยมชมอีกให้ได้ นอกจากเป็นหมู่บ้านต้มเหล้าแล้ว หมู่บ้านซ่างไห่ยังเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าไหม ผ้าพันคอ ผ้าซิ่น ต่าง ๆ สวยงามมาก
หลังจากที่เราเดินทางไปชมถํ้าติ่งแล้ว ขากลับเรือมาจอดเทียบท่าหมู่บ้านให้พวกเราได้ขึ้นไปเที่ยวชม แทบจะทุกหลังคาเรือนมีการทอผ้าไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ เด็กเล็ก ทอเป็นทั้งนั้น เดินชมไปเรื่อย ๆ ทำให้นึกถึงบรรยากาศตอนเป็นเด็ก ๆ ชีวิตที่ไม่รีบเร่ง ย่างก้าวที่เนิบช้า ดูชีวิตช่างมีความสุข



หนูน้อยสองคนนี้ นำเสนอสินค้าได้เก่งมากจนน่าทึ่ง อนาคตนักขายร้อยล้านแน่ ๆ



Share:

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ถํ้าติ่ง

ถ้ำติ่ง (ถ้ำปากอู) แห่งนี้ มีความสำคัญมายาวนานกับชาวลาว โดยเฉพาะชาวลาวหลวงพระบาง ถือได้ว่าเป็นเทวสถานของเจ้าที่แม่น้ำ   โดยชาวบ้านท้องถิ่นเล่ากันว่า  ถ้ำติ่ง ในสมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณ  ผีฟ้า  ผีแถน เทวดาผาติ่ง ซึ่งหินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายภายในถ้ำนั้นเป็นที่สิงสถิตของผี ทั้งวิญญาณในน้ำ
และในถ้ำ  ต่อมา ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาแพร่หลายผ่านมาทางชาวมอญ ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 13  และได้รับการนับถือกันแพร่หลาย คู่ขนานไปกับความเชื่อดั่งเดิมในเรื่องของการนับถือบูชาผีฟ้า เทวดา จนในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เข้าสู่ยุคเฟื่องฟูแห่งศาสนาพุทธ  ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090)  พระโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินให้เกิดความเป็นปึกแผ่น พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้เลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก  พระองค์ทรงสร้างวัดวาอารามต่างๆ มากมาย  และประกาศยกเลิกไม่ให้ประชาชนนับถือผีสางให้มายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ความเชื่อในเรื่องการบูชาภูติผีจึงลดบทบาทไป ประกอบกับสภาวะบ้านเมืองในขณะนั้น ถ้ำติ่งจึงถูกทิ้งร้าง จนมาในปี 2091 คนท้องถิ่นที่นั่นเล่ากันว่า ถ้ำติ่ง จึงได้ทรงค้นพบอีกครั้งโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ซึ่งพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา   ในขณะทำการก่อสร้างวัดปากอู ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้าม ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มายังถ้ำปากอูก็คือฟรานซิส การ์นิเย่ร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส จากนั้นมาถ้ำติ่ง แห่งนี้ ก็กลายเป็นพุทธสถาน ที่นักแสวงบุญในพุทธศาสนาได้เดินทางมาสักการะถ้ำแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และตามธรรมเนียมความเชื่อ นักแสวงบุญก็จะทิ้งพระพุทธรูปไว้ในถ้ำ และทุกวันนี้มีพระพุทธรูปกว่า 4,000 องค์แล้ว มีพระพุทธรูปจำนวนมากที่มีฝุ่นเกาะอยู่เต็มไปหมดและไม่ได้รับการเหลียวแล ส่วนใหญ่แล้วมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24-25  กว่า 2,500 องค์   องค์ที่เก่าที่สุดสร้างจากไม้ และมีอีกหลายองค์ที่หล่อจากสำริดลงรักปิดทอง โดยเราจะเห็นว่ามีพระพุทธรูปวางอยู่แทบทุกซอกทุกมุมภายในถ้ำเลยทีเดียว
ถ้ำติ่ง ประกอบไปด้วย ถ้ำ แยกขวาไปถ้ำลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำเทิง (บน) ถ้ำลุ่มหรือ ถ้ำติ่ง ล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นๆ มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากหลายขนาด ส่วนใหญ่จะเป็นพระยืน มีทั้งปางประทานพร และปางห้ามญาติ ความสำคัญของถ้ำติ่งในสมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณ ผีฟ้า ผีแถนเทวดาผาติ่ง


การเดินทาง
การเดินทางไปเที่ยวชม ถํ้าติ่ง นั้นทำได้ 2 ทาง คือทางเรือ และทางรถยนต์  ทางเรือนั้นต้องขึ้นเรือที่ท่าวัดเชียงทอง และมีอีกหลายท่าเรือจากหลวงพะบาง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเช่าเหมาลำ ไปเป็นคณะ เมื่อพร้อมก็ออกเดินทางทวนลำน้าโขงขึ้นไป สองฝั่งลำน้าโขงนั้นอุดมไปด้วยธรรมชาติที่สวยงามตื่นตา ตื่นใจบอกไม่ถูก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ๆ ก็จะถึง ถํ้าติ่ง
อีกเส้นทางหนึ่งคือ ขึ้นรถจากหลวงพะบาง ไปยังบ้านซ่างไห่ หรือบ้านต้มเหล้า ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แล้วเหมาเรือจากจุดนี้ไปยัง ถํ้าติ่ง หรือจะนั่งรถเลยไปยังบ้านปากอู ห่างจากหลวงพะบางประมาณ 45 กิโลเมตร แล้วไปขึ้นเรือที่ท่าเรือบ้านปากอู ค่าเหมาเรือจะถูกกว่า จากบ้านซ่างไห่



เห็นเป็นเสาปูนอยู่กลางนํ้า คนขับเรือบอกว่ามันเป็นเสาวัดระดับนํ้าขึ้นลง ช่วงที่เราไปนํ้าลงมาก


ระหว่างเดินทางไปถํ้าติ่ง พบเรือสำราญ แล่นสวนอยู สองสามลำ






ภายในถํ้าติ่ง เต็มไปด้วยพระพุทธรูปมากมาย


 




Share:

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตักบาตรข้าวเหนียวที่หลวงพะบาง

พิธีตักบาตรข้าวเหนียว เป็นประเพณีทางพุทธศาสนาของชาว หลวงพระบาง ที่ถือปฏิบ้ติกันมาช้านาน และประเพณีนี้ได้กลายเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนที่มีโอกาสมาเยือนเมืองหลวง
พระบาง ไม่อยากพลาดโอกาสนี้เช่นกัน จนถือได้ว่าพิธีตักบาตรตอนเช้าที่เมืองหลวงพะบางนี้ เป็น Highlight สำคัญด้านการท่องเที่ยวของเมืองไปโดยปริยาย โดยถ้านักท่องเที่ยวท่านใดมีความประสงค์อยากจะเก็บประสบการณ์ ถ้าไปเที่ยวกับคณะทัวร์ จะมีพนักงานมีถามความจำนงค์เราว่า พรุ่งนี้เช้าจะไปตักบาตรเช้ามั้ย ทางบริษัททัวร์จะเตรียมอุปกรณ์ใส่บาตรไว้ให้ เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว ผ้าสะพายบ่าตามประเพณี ในสนสสราคา 100 บาท อย่างไรก็ตามประพีณีการตักบาตรตอนเช้า จะมีข้อปลีกย่อยที่นักท่องเที่ยวจะต้องให้ความเคารพในขนบธรรมประเพณีของชาว หลวงพะบาง ที่ ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา เพราะอาจทำให้ประเพณีดังกล่าวเกิดความผิดเพี้ยนไปหรือมีการกระทำที่ไม่เหมาะ สม และไม่ครบถ้วน จนอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้ ดังนั้นจึงอยากจะให้คำแนะนำสำหรับข้อ ควรปฏิบัติในการร่วมพิธีตักบาตรตอนเช้า ที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นพิธีที่ชาว หลวงพระบาง ทุกคนภาคภูมิใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากดังนี้

หลักการปฏิบัติในการเข้าร่วมพิธีตักบาตรตอนเช้า
     1. ควรเฝ้าดูการตักบาตรด้วยความสำรวมและหากต้องการจะเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าวจะต้องเกิดจากพื้นฐานของความศรัทธา และต้องปฏิบัติด้วยความเคารพอย่างแท้จริง
     2. ควรซื้ออาหารจากแม่ค้าที่ขายอยู่ในตลาดตอนเช้าและหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารจากแม่ค้าที่มาวางขายตามฟุตบาทหรือที่เดินหาบขายตามหลังพระสงฆ์ หรือสามเณรเนื่องจากเป็นการกีดขวางและรบกวน(คำแนะนำ: วิธีที่สะดวกและง่ายที่สุดหากท่านไม่ทราบแหล่งซื้อท่านสามารถสั่งเฮือนพัก/โรงแรม ทุกแห่งที่ท่านใช้บริการให้เค้าเป็นผู้จัดเตรียมข้าวเหนียวและกระติ๊บใส่ข้าวให้ท่านล่วงหน้า)
     3. หากท่านต้องการเพียงแค่เฝ้าชม พิธีการตักบาตร กรุณาอยู่ในจุดที่เห็นว่าเหมาะสมนั่นก็คือ จะต้องไม่เป็นการยืนในตำแหน่งที่พระสงฆ์หรือสามเณรเดินผ่านหรือกีดขวางผู้อื่นที่ต้องการทำบุญ
     4.ไม่ควรถ่ายภาพพระสงฆ์หรือสามเณรในระยะประชิดจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชใน การถ่ายภาพในทุกกรณี (คำแนะนำ: ควรปรับค่า ISO ที่กล้องให้สูงขึ้นหากค่าความไวชัตเตอร์ที่ได้ต่ำเกินไป หรือใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ 
     5.การเข้าร่วมในพิธีการตักบาตรจะต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพบุรุษควรสวมกางเกงขายาวและ สุภาพสตรีควรสวมกระโปรงหรือสวมผ้าซิ่น เสื้อของสุภาพสตรีจะต้องไม่เป็นเสื้อแบบเปลือยไหล่
เกาะอกหรือสายเดี่ยวและห้ามสวมกางเกงขาสั้นมาเข้าร่วมพิธีโดยเด็ดขาด
     6.พระสงฆ์และสามเณรเป็นบุคคลที่อยู่ในศีลในธรรม ดังนั้นห้ามถูกเนื้อต้องตัวโดยเด็ดขาด
     7.ห้ามนำรถโดยสารขนาดใหญ่เข้ามาวิ่งในเขตมรดกโลก (นั่นคือในตัวเมืองหลวงพระบางทั้งหมด) เพราะเป็นการกีดขวางการจราจร หากท่านต้องการเข้าร่วมในพิธีกรุณามาก่อนเวลาที่พระสงฆ์ และสามเณรจะเริ่มออกบิณฑบาต (ประมาณ05.30 น.) กรุณาอย่าขับรถตามขบวนของพระสงฆ์และสามเณรเพราะการนั่งอยู่บนรถ อาจทำให้ท่านอยู่สูงกว่าพระสงฆ์และสามเณรซึ่งชาวลาวถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์และสามเณรชาวหลวงพระบางยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่ต้องการเข้าร่วมในพิธีการอันศักสิทธ์นี้
ดังนั้นกรุณาให้ความเคารพ และเห็นความสำคัญในพิธีการดังกล่าวเพื่อเป็นการช่วยทำนุบำรุงความงดงามของประเพณีที่ชาวหลวงพระบาง ได้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
ที่มา : http://www.louangprabang.net

Share:

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระราชวังหลวงพะบาง

พระราชวังหลวงพระบาง หลังนี้เป็นอาคารเก่า ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะอาคารเป็นอาคารชั้นเดี่ยวยกพื้นสูง สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แต่เป็นการผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เป็นระยะเวลานนาน จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 พระราชวังหลวงพระบาง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ 

พระราชวัง หลวงพระบางแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1904 มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น หอพระด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้น ที่เกาะสิงหล เมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 

จ้า ฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ในปี ค.ศ.1779 และ ค.ศ. 1827 จน ปี ค.ศ. 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯ จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีต และงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อย ที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร

ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง ห้องเด่นๆหลายห้องอยู่ฝั่งขวาของอาคาร เช่น 
1. ห้องฟังธรรม ภายในมีธรรมมาสน์ ห้องปูพรมและเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิติศรีสว่างวงศ์ในเวลาฟังธรรม
2. ห้องรับแขกของพระมเหสี ภายในห้องจัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆ
3. ห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ภายในห้องสวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพงานประเพณี และยังมีรูปหล่อครึ่งองค์ของเจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้หล่อมาจากประเทศฝรั่งเศษ
4. ห้องท้องพระโรง ห้อง นี้ใช้ทำพีธีราชาภิเษก ซึ่งเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมห้องนี้ไว้ทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงปกครองเสียก่อน ภายในห้องติดประดับด้วยกระจกโมเสดสีแดงจากประเทศฝรั่งเศส

นอกจากห้องสำคัญเหล่านี้แล้วด้านหลังของท้องพระโรง ยังเป็นที่ตั้งของตำหนักของเจ้ามหาชีวิต อีกจุดที่เด่นของพระราชวังคือ 

5. หอพระบาง ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย

ค่าเข้าชม 30,000 กีบ (ประมาณ 120 บาท) 
เปิดเวลา 08.00 - 11.30 น. และ 13.30 - 16.30 น.
หมายเหตุ ภายในพระราชวังหลวง ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิด
Share:

วัดเชียงทอง

วัดเชียงทองเป็นวัดที่เก่าแก่มากที่สุดวัดหนึ่งในหลวงพระบาง สร้างในระหว่าง พ.ศ. 2102-2103
โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง และ ล้านนา ก่อนที่พระองค์จะย้ายเมืองหลวงมายังนครหลวงเวียงจันทน์ไนานนัก วัดนี้ถือว่าเป็น วัดประตูเมือง และยังเป็นท่าเทียบเรือด้านเหนือ สำหรับการเสด็จประพาสทางชมมารถ ของกษัตริย์หลวงพระบาง วัดเชียงทองจึงได้รับการอุปถัมภ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะ ในสมัยเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สอง พระองค์สุดท้ายของลาวด้วย นอกจากนี้วัดเชียงทองยังเป็นวัดหนึ่งที่รอดพ้นจากอัคคีภัยครั้งใหญ่ที่ เผาผลาญเมือง ในปี พ.ศ.2430 สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ซุ้มประตูโขง พระธาตุ พุทธสีมา หอไหว้น้อย หอไหว้สีกุหลาบ หอไหว้หลังสิม หอกลอง หอราชโกศเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ในบรรดาวัดทั้งหลายในหลวงพระบาง สิมของวัดเชียงทองได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามและได้รับการกล่าวขานมากที่ สุด เปรียบประดุจอัญมณีแห่งงานสถาปัตยกรรมลาว สิมของวัดนี้ถือว่าเป็นแบบหลวงพระบางแท้ สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน มีโครงสร้างที่ไม่สูงนักตามแบบฉบับหลวงพระบาง งดงามด้วย สัดส่วนและการประดับตกแต่ง สิ่งที่เด่นมากคือ หลังคาซ้อน 3 ตับซึ่งดัดอ่อนโค้งและลาดต่ำลงมามาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาด บนกลางสันหลังคามีการทำ ช่อฟ้า รูปเขาพระสุเมรุและทิวเขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมรอบ 7 ชั้น รองรับด้วยปลาอานนท์ อันเป็นรูปการจำลองจักรวาลตามคติทางพุทธศาสนาเช่น เดียวกับที่ปรากฎ ใน จิตรกรรมของล้านนา และอยุธยา หน้าบันแกะสลักเป็นรูปดอกตาเว็นหรือลายดวงอาทิตย์ ที่ดูคล้าย ลายดอกจอกของไทยเมื่อเดินขึ้นบนสิมจะพบกับมุขโถงด้านหน้ากว้าง ใช้สำหรับเป็นที่วางเครื่องบวช และ ที่นั่งของศรัทธา ที่มาทำ
บุญบางครั้งเมือมีแขกคนสำคัญมาเยือนจะใช้เป็นที่ทำพิธีผูกขวัญข้อมือ อีกด้วย ผนังด้านนอกทิศเหนือทางแม่น้ำโขงมีเศียรช้างชูงวงประดับกระจก ใช้เป็นช่อง ให้น้ำพระพุทธมนต์ที่ รดผ่านรางรดสรงมายังพระพุทธรูปในสิม ไหลผ่านท่อที่ฝังไว้และไปออกที่เศียรช้าง เพื่อให้ประชาชนนำ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประพรมร่างกายเพื่อความเป็นศิริมงคลในวันสงกรานต์ สิมแห่งนี้ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ.2471 บนผนังทั้งด้านนอกและด้านในประดับด้วยลายรดน้ำปิดทองบนพื้นสีดำ เรียกลายฟอกคำ ด้านนอกได้แก่เรื่องท้าวสีสุทน (พระสุธน-มโนราห์) และเรื่องท้าวสุดตะโสม ส่วนด้านในเป็นเรื่อง พระยาจันทะพานิช สถิตสุวันนะพูม พ่อค้าขายหมากพลูจากเวียงจันทน์ที่เดินเรือมา และประชาชน ได้เลือก ให้มาเป็น กษัตริย์เมืองหลวงพระบาง และเรื่องพระเจ้าสิบชาติกเว้นวฝาผนังด้านทิศตะวันตก ที่ยังคงรักษาร่องรอย ดั้งเดิมที่ประดับลาย ทองบนพื้นสีแดง ส่วนด้านหลังสิม ตกแต่ง ด้วยภาพประดับ กระจกที่ติดเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาประติดปะต่อกันเป็นภาพรูปต้นทองซึ้งเป็นความเชื่อ ดั้งเดิม เรื่องการสร้าง เมืองเชียงดง-เชียงทอง ทีมีฤาษี 2 องค์ได้มาปักหมายเขตแดนที่จะเป็นที่ตั้งของเมือง ในอนคตใกล้กับ ต้น ทองด้านบน
เป็น ภาพพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ และนิทานพื้นบ้านงดงามทคนิคการประดับ กระจกเช่นนี้ยังพบได้ที่ในท้องพระโรง ของ พระราชวัง เจ้าชีวิตลาว ภาพประดับกระจกนี้ดูงดงามเมื่อต้องแสงจึงเป็นมุมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยม มาถ่ายรูปมากหอไหว้น้อย ตั้งอยู่ด้านหน้าของสิม เป็นหอ ไหว้ขนาดเล็กที่มีหลังคารูปด้วยใบโพธิ์ตัดครึ่ง อันเป็นรูปแบบของลาวดั้งเดิม ซึ่งประดับกระจกสีงดงามายในประดิษฐานพระพุทธ รูปหลาย องค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานให้แก่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่าง วงศ์ หอไหว้สีกุหลาบ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของสิมเป็น หอไหว้เก่าแก่ ที่ได้รับการ บูรณะ ครั้งใหญ่โดยท้าวคำม้าว เมื่อ พ.ศ.2500 เพื่อ เป็นการฉลอง 25 พุทธศตวรรษของพระพุทธศาสนาจึงมีการประดับด้วยกระจกตัดเป็นภาพ เล่าเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องท้าวเสียวสวาด ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเอกของลาว ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์สำริด อายุกว่า 400 ปี สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในปี พ.ศ. 2112 ฝรั่งเศสเคยอัญเชิญ พระพุทธรูป องค์นี้ไปแสดงไว้ที่กรุงปารีสและเจ้าสุวรรณภูมาทรงขอกลับคืนมาประดิษฐาน เมื่อ 70 ปีที่แล้ว และที่ดูแปลกตาคือช่องบรรจุ พระพุทธรูปขนาดเล็ก จำนวนนับพันองค์บน ผนังภายใน หอไหว ้ เชื่อว่าเป็นความคิดเรื่องพระอนันตพระพุทธเจ้า หอไหว้ใหญ่หลังสิม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของสิม เป็นหอไหว้เก่าแก่ที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ ในส่วนของแขนนางได้ทำขึ้นไม่โดยกลุ่มสกุลช่างของ เพียตันช่าง ประจำพระราชสำนัก หอไหว้หลังนี้ประดิษฐานพระม่าน(พระพม่า) ที่ชาวหลวงพระบางนับถือเนื่องด้วยพม่าได้เข้ามามีอิทธิพลในล้านช้าง อยู่ระยะหนึ่งในช่วงท้าย พุทธศตวรรษที่ 21 ชาวลาวนิยมมาบนบานเพื่อขอบุตรจากพระม่าน หอกลอง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านหน้าสิมสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2503 หอกลองแห่งนี้ยกพื้นขึ้นมาราวครึ่งเมตร มีการประดับตกแต่งด้วยลายทองงดงาม ในช่วงเย็นราว 16.30 น.เณรน้อยจะมาตีกลองเพื่อบอกเวลาในการทำวัตรของพระสงฆ์ หอราชโกศเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์(โรงเมี้ยนโกศ) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ในปี พ.ศ.2502 ที่นี่เป็นอาคาร ที่มีหลังคา สูงประดับด้วยงานแกะสลักเรื่องรามเกียรติ์งดงาม เช่นรูปนางสีดาลุยไฟ ออกแบบโดยเจ้ามะนีวง และแกะสลักด้วยนายช่างภายใต้การควบคุมของพ่อเฒ่าเพียตัน (เพีย เป็นตำแหน่งพระราชทาน หมายถึง พระยา) ช่างใหญ่
ประจำพระราชสำนัก หอราชโกศนี้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษามรดกเก่าแก่ของหลวงพระบาง เช่น ราชรถไม้แกะสลักปิดทอง ประดิษฐานพระโกศ 3 องค์ คือองค์ใหญ่ตรงกลางเป้นของเจ้าศรีสว่างวงศ์ องค์เล็กด้านหลังของ พระราชมารดา ส่วนองค์ด้านหน้าเป็นของ พระเจ้าอา นอกจากนั้นยังมีศิลปวัตถุจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป บานประตูโบราณภาพพระบฎ เป็นต้น ลักษณะพิเศษของหอราชโกศคือ ฝาผนังด้านหน้าสามารถ ถอดออก ได้ทั้งหมดเพื่อเคลื่อนราชรถออก พระธาตุ พระธาตุเจดีย์ในวัดเชียงทองมีจำนวนหลายองค์ ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลังของสิมบางองค์มีการประดับด้วยกระจกสีบางองค์มี ซุ้มขนาดเล็กด้านบนเป็นรูปฤษีอยู่เหนือซุ้ม เชื่อว่าเป็นหอบูชาพระฤษี ซุ้มประตู เป็นประตูโค้งทาสีเขียว สร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 แม้จะมีการบูรณะบ้างแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเดิมไว้ ปัจจุบันพบเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น กุฏิ เป็นที่ พำนักของพระภิกษุและสามเณร กุฏิหลังที่ตั้งด้านทิศใต้ของสิมมีลักษณะเป็นเรือนหลังคาแฝดสองหลังเช่น เดียวกับเรือนในเมืองหลวงพระบาง

                      ข้อมูล จาก หนังสือ วัดในหลวงพระบาง โดย วรสัญจ์ บุณยสุรัตน








โรงราชโกศเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ที่วัดเชียงทอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่าวงศ์ พ.ศ. 2502 เป็นอาคารสูงประดับด้วยงานแกะเรื่องรามเกียรติ์




Share:

พระธาตุวัดพูสี

พระธาตุพูสี 
พูสี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดภูษีทำให้เห็นเมืองหลวงพระบางได้โดยรอบ และเห็นสายน้ำโขง มีบันไดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ตรงข้ามพระราชวัง 328 ขั้น ตลอดทางขึ้นร่มรื่นไปด้วยต้นจำปา (ดอกไม้ประจำชาติลาว) หรือที่บ้านเราเรียกว่าต้นลั่นทม

พูสี มีความหมายว่า ภูเขาของพระฤาษี เดิมชื่อว่า ภูสรวง ครั้นเมื่อมีฤาษีไปอาศัยอยู่ชาวบ้านจึงเรียกว่าภูฤาษี หรือภูษีมาจนถึงปัจจุบัน แต่ยังมีนักโบราณคดีบางคนเชื่อว่าภูษี อาจหมายถึง พูสีซึ่งเป็นศรีของเมืองหลวงพระบาง

 พระธาตุพูสี  สร้าง ขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณพุทธศักราช 2337 พระธาตุนี้ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของพูสี บนความสูง 150 เมตรพระธาตุนี้มองเห็นได้แต่ไกลแทบจะทุกมุมเมืองของหลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริดเจ็ดชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่พระธาตุนี้งดงามที่สุดคือช่วงตอนบ่ายแก่ๆแสงแดดจะกระทบองค์พระธาตุ เป็นสีทองสุก รอบๆพระธาตุจะมีทาง
เดินให้ชมวิวทิวทัศน์ของเมืองหลวงพระบาง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมองเห็นสนามบิน ส่วนด้านทิศตะวันตกจะมองเห็นแม่น้ำโขง ช่วงที่คดเคี้ยวเข้าหากันในกลีบเขาและจากยอดภูสียังมองเห็นพระราชวังเดิมที่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พระธาตุจอมษีมิได้เป็นสิ่งก่อสร้างแห่งเดียวบนยอดภูษี ยังมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาอีกหลายแห่งเช่น วัดถ้ำพูสี วัดป่าแค วัดศรีพุทธบาท วัดป่ารวก

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง
ค่าเข้าชม 20,000 กีบ (ประมาณ 80 บาท)
เปิดเวลา เปิดตลอดวัน

ที่มา  http://www.tripdeedee.com








Share:

Blogger templates

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Advertisement

ads

Random Posts

Recent in Sports

Featured

.